วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ต้นลั่นทมหรือต้นลีลาวดี

          ในประเทศไทยที่พบเห็นทั่วๆไปจะมีดอกสีขาว แดง ชมพู และ สามสี เดิมทีชื่อเรียกของพันธุ์ไม้นี้
คือ “ลั่นทม” ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้มาจากคำ ว่า “ระทม” ที่หมายถึง ความเศร้าโศก ไม่เป็นมงคล จึงไม่นิยมปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้านพักหรือที่ อยู่อาศัย แต่แท้ที่จริงแล้วมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึง คำ ว่า “ลั่นทม” ที่เรียกกันแต่โบราณหมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้ว มีความสุข
ดังนั้นคำ ว่า “ลั่นทม” แท้ที่จริงนั้นจึงเป็นคำที่ผสมจาก ลั่น+ทม โดย คำ แรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้งและคำ หลังหมายถึงความทุกข์โศก แต่ความเชื่อ ว่า “ลั่นทม” เป็นคำที่ไม่เป็นมงคลยังคงผฝังตรึงอยู่ในใจของคนไทยมาช้า นาน กระทั่งได้มีการเปลี่ยนชื่อ ต้นไม้ชนิดนี้มใหม่ จาก “ลั่นทม ” เป็น “ลีลาวดี” ซึ่งมีความไพเราะเหมาะเจาะกับรูปทรงและดอกอันสวยสด จนกลายมาเป็นไม้ยอดนิยมในปัจจุบัน เนื่องจาก รูปทรงที่สวยงามแปลกตาแล้วดอกสีลาวดี ยังมีสีสวยและมีกลิ่นหอม และยังถือว่าเป็นไม้มงคลอีกด้วย
ชื่อสามัญ : ลั่นทม หรือ ลีลาวดี(Lanthom)Temple tree , Pagoda tree , Frangipani
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumeria acuminata Art. Sym.:P. actifolia Poir. , P. rubraLinn.var.Actifolia Bailey.
ชื่ออื่นๆ : กะเหรี่ยง กาญจนบุรี – จงป่า (Chong-pa)
ภาคเหนือ – จำปาลาว (Champa-lao)
อีสาน – จำปาขาว (Champa-Khao)
เขมร – จำไป (Cham-pai)
ภาคใต้ – จำปาขอม (Champa-khom)
ยะลา – ไม้จีน (Mai-Chin)
มลายู-นราธิวาส – มอยอ (Mo-yo)
ถิ่นกำ เนิด – เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ อินเดีย
วงศ์ : APOCYNACEAE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น