วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การดูแลรักษาลีลาวดี


การดูแลรักษาลีลาวดี

ลีลาวดี สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่กันดาร ดินไม่อุดมสมบูรณ์มากนัก แต่ถ้าต้องการให้ลีลาวดีออกดอกได้ดี ควรนำไปปลูกในกระถางและใช้ดินที่เป็นกรดเหมือนกับพืชเขตร้อนทั่วไป ลีลาวดีชอบความชื้นในอากาศสูงและไม่ชอบอยู่ในดินที่มีน้ำท่วมขังหรือมีการรด น้ำบ่อยครั้ง การปลูกควรเน้นการระบายน้ำหรือการยกร่องในแปลงปลูกเป็นหลัก ลีลาวดีเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในเวลากลางวันอย่างน้อยครึ่งวัน แต่หลายชนิดต้องการแสงแดดเต็มวัน ยกเว้นบางชนิดที่มีดอกสีแดงซึ่งจะชอบการพรางแสงมากกว่า

1.การให้น้ำลีลาวดี

การให้น้ำลีลาวดีในกระถาง ควรให้จนดินเปียกทั่วถึง จนน้ำส่วนเกินระบายออกทางรูระบายน้ำ แล้วปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งก่อนการให้น้ำครั้งต่อไป หรือช่วงแล้งจัด อาจเว้นวัน และควรตรวจดูความชื้นของวัสดุปลูกอยู่เสมอ
การให้น้ำลีลาวดีที่ปลูกลงดิน ควรให้ น้ำแต่น้อยให้ประมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศร้อนควรให้น้ำมากกว่าปกติ เพื่อรักษาความเขียวของใบ แต่การให้น้ำมากเกินไปมีผลต่อการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านมากและทำให้ไม่ออก ดอก

2.การให้ปุ๋ยลีลาวดี

เนื่องจากต้นลีลาวดีที่สวยและมีราคาสูงนั้นจะต้องมีฟอร์มต้นที่ดี คือ มีลักษณะของทรงพุ่มกลมมีกิ่งก้านสาขาแตกออก ดูแล้วมีความพอดีกับความสูงของต้น ดังนั้นการให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้ต้นสูงชะลูดและไม่แทงช่อดอกใน เวลาอันควร ในการที่จะเร่งการเจริญเติบโตทั้งทางใบ ลำต้น และดอก คือการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมในอัตราส่วนที่เท่ากัน หรือให้ฟอสฟอรัสสูงและให้ธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อลีลาวดี คือ แมกนีเซียม ทองแดง เหล็ก สังกะสี กำมะถัน และแมงกานีส
การให้ปุ๋ยหมักลีลาวดี ควรให้สลับกับการรดน้ำคาวปลาจะช่วยเพิ่มไนโตรเจนในดินได้เป็นอย่างดี
การเลือกซื้อปุ๋ยจากร้านทั่วไป ภาชนะบรรจุจะระบุอัตราส่วนของสารต่าง ๆ เอาไว้ อาทิเช่น อักษรตัว N หมายถึง ไนโตรเจน ตัว P หมายถึง ฟอสเฟส ตัว K หมายถึง โปตัสเซียม ฯลฯ
เนื่องจากลีลาวดีชอบดินที่เป็นกรดอ่อน ดังนั้นปุ๋ยควรมีส่วนผสมของฟอสเฟสในอัตราที่มากกว่า ส่วนไนโตรเจนและโปตัสเซียมให้ผสมในอัตราปานกลาง

สำหรับการปลูกลีลาวดีในกระถางในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ประมาณต้นเดือนเมษายนควรจะโรยกระดูกป่น และปุ๋ยที่มีฟอสเฟสสูงทุก ๆ สัปดาห์ และอีก 1 เดือนถัดมาให้ปุ๋ยแมงกานีสซัลเฟตให้ปฏิบัติตามสูตรนี้จนกระทั่วเกิดตุ่มดอก ในช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งในช่วงนั้นควรเปลี่ยนไปใช้สารโปตัสเซียมไนเตรท และลดการให้จากทุกสัปดาห์เป็นเดือนละครั้ง เพื่อการออกดอกที่ได้ผลดี จนถึงเดือนกันยายนควรงดการให้ปุ๋ยทุกชนิด การนำกิ่งชำลงดิน ควรทำในเดือนเมษายนก่อนเข้าฤดูฝน

ศัตรูที่สำคัญของลีลาวดี: ได้แก่ ราสนิม และ เพลี้ยแป้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น